ขั้นตอนในการเช็คเบี้ย
หากเป็นเบี้ยประกันประเภท 1 package, 2, 3, 2+,3+ หรือ พรบ.
คุณสามารถที่จะดูราคาเบี้ยประกันผ่านหน้าเว็บไซต์ของศรีกรุงโบรคเกอร์
ได้เลยที่
คลิ๊กดูราคา เพราะประกันภัยประเภทดังกล่าวเป็นราคาที่คงที่
หรือ
เข้าระบบ เช็คเบี้ยออนไลน์ ได้ที่ https://goo.gl/5fX8nF เฉพาะประกันชั้น 5(2+,3+)
(สามารเลือก บริษัทประกัน ประเภทของรถยนต์ ได้เอง)
แต่หากคุณจะเช็คเบี้ย ประเภท 1 ปกติ จำเป็นต้องเช็คเบี้ยก่อนทุกคัน เพราะ
ราคาเบี้ยประกันจะ ขึ้น-ลง ถูก-แพง ตามทุนประกันของรถยนต์,อายุของรถ,
ยี่ห้อ, รุ่น, ลักษณะการใช้งาน, ความเสี่ยงในการใช้รถ หรือประวัติดี-ไม่ดีต่างกันไป
ขั้นตอนการเช็คเบี้ยประกันภัยชั้น 1 คุณสามารถที่จะเลีอกได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 โทรไปที่เบอร์ Call Center 02-8673888 กด 1 หรือต่อเบอร์โต๊ะ
แล้วแจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ รอสายฟังราคาเบี้ยได้เลยหรือเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ
วิธีที่ 2 ส่งอีเมลล์ แนบไฟล์เอกสารรถยนต์ที่จะเช็คราคาและซื้อประกัน
ไปที่บริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์
ติดต่อ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายขาย Call Center
หรือ เจ้าหน้าที่สาขาต่างๆ ดูรายชื่อ เบอร์โทร อีเมลล์ เมนูด้านขวา =>>>
ตั้งชื่อหัวเรื่องอีเมลล์ ว่า เช็คเบี้ยประกัน ป.1
การแจ้งงาน
เมื่อได้ราคาแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งราคากลับ นำราคาที่ได้เสนอลูกค้า
หากลูกค้าตกลงจะทำประกัน เราก็เก็บเงินลูกค้า เพื่อโอนให้บริษัท หรือ
ให้ลูกค้าโอนเอง(ชำระเงินก่อนแจ้งงาน ตามกฎ คปภ.)
สามารถโอน เข้าบริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์ หรือ บริษัทประกันภัยได้โดยตรง
แล้วเก็บสลิปการชำระเงิน พร้อมเอกสารต่างๆ ส่งให้เจ้าหน้าที่
เพื่อทำประกัน(แจ้งงาน)
กรมธรรม์ ตัวจริง บริษัท เอส เค พลัส เซอร์วิส บริษัทในเครือ ศรีกรุงโบรคเกอร์ จะจัดส่งให้ลูกค้า หรือสมาชิก ตามที่เราระบุ เป็นจดหมายลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย ส่งฟรี ถึงผู้รับ
ข้อมูลที่จำเป็นในการ เช็คเบี้ยประกันภัย
1. การเลือกแบบประกัน หรือการเช็คเบี้ย
ถ้าคุณเป็นสมาชิกจะสามารถ Login เพื่อเข้าไปดาวน์โหลดคู่มือต่างๆ รวมทั้งเช็คเบี้ย ดูรายงานการแจ้งงาน รายงานค่าสายงาน รายได้ประจำเดือน ประจำปีต่างๆ ได้ โดยเข้าไปที่ https://www.srikrungbroker.co.th หรือ Login เพื่อเช็คเบี้ยออนไลน์ เข้าไปที่ https://agentsk.srikrungbroker.co.th/agent/Default.aspx ใส่ username คือรหัสสมาชิก 10 หลัก ที่ขึ้นต้นด้วย AMxxxxxx รหัสผ่านคือหมายเลขประจำตัว 13 หลักของคุณ
หรือดาวน์โหลดคู่มือการทำงานที่จัดทำโดยบริษัท สำหรับสมาชิกใหม่ได้ที่เมนูด้านล่าง
คู่มือแนะนำสำหรับสมาชิกใหม่
คู่มือการใช้ระบบ MGM
วิธี set printer เพื่อปริ้น พรบ.
เรียกรายงานไม่ขึ้น หรือสั่งพิมพ์ไม่ได้ คู่มือ 1
เรียกรายงานไม่ขึ้น หรือสั่งพิมพ์ไม่ได้ คู่มือ 2
คู่มือระบบ พรบ. Online
คู่มือระบบ ภาคสมัครใจ Online
คู่มือการใช้ระบบรายงาน
คู่มือการใช้ระบบตรวจสอบงาน Motor
สำหรับ พ.ร.บ. และประกันภัยเภท 2+, 3+ และ 3 บางบริษัทสมาชิกสามารถค้ำประกัน ไปออกที่บ้าน หรือสำนักงานได้ คีย์งานผ่านระบบออนไลน์ สามารถพิมพ์ให้ลูกค้าได้ทันที โดยติดต่อสอบถามฝ่ายการตลาด
ส่วนเบี้ยประกันชั้น 1 และประกันวินาศภัยอื่นๆ ถ้าไม่มีเบี้ย ให้เช็คเบี้ยกับเจ้าหน้าที่ศรีกรุงโบรคเกอร์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ 02-867-3888 (อัตโนมัติ 30 คู่สาย) ระยะเวลาการได้เบี้ย ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูลของเรา ถ้าเตรียมข้อมูลดี ก็จะได้เบี้ยเร็ว ข้อมูลที่ต้องเตรียม ก่อนโทรเข้าบริษัท มีดังนี้
กรณีเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ จะต้องเตรียม
1. รุ่นรถ / ปีรถ / ซีซี / จดทะเบียนเป็นเก๋ง หรือ กระบะ
2. มีโครงหลังคา หรือ ตู้ด้านหลังหรือไม่
3. บริษัทประกันภัย เดิมบริษัทใด / ทุนประกันรถหาย / ไฟไหม้เท่าไร ( กรณีประเภท 1 )
4. ปีที่แล้วมีเคลม หรือไม่
5. รถมีอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติมไหม และต้องการซื้อเพิ่มหรือไม่
6. ถ้ามีสำเนากรมธรรม์เดิมจะดีมาก เพราะบริัษัทบางแห่งใช้อ้างอิงประวัติดีได้
ต้องรู้ความต้องการลูกค้าก่อนเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์
1. ต้องการบริษัทใด (ไม่ควรจะเกิน 3 บริษัท)
2. ต้องการซ่อมห้าง / ซ่อมอู่ (จะได้ไม่เสียเวลา เพราะบางคนอยากจะได้เฉพาะห้าง หรืออู่)
3. ต้องการระบุชื่อผู้ขับขี่หรือไม่ (ถ้าระบุผู้ขับขี่จะทำให้เบี้ยถูกลง สู้กับคู่แข่งได้)
4. ต้องการซื้อค่าเสียหายส่วนแรกหรือไม่ (ถ้าซื้อเบี้ยจะถูกลง)
5. มีสมาชิกอื่น เสนอราคามาแล้วหรือยัง (ถ้ามีใช้เบี้ยนั้นอ้างอิงได้ เบี้ยไม่ต่างกันเท่าหร่)
6. ต้องการเบี้ยประมาณเท่าไร (อันนี้สำคัญ ทำงานแทบตาย แต่สุดท้ายลูกค้าไม่มีเงิน)
กรณีเช็คเบี้ยประกันอาคาร หรือทรัพย์สินอื่นๆ ต้องรู้
1. สถานที่ตั้ง + ลักษณะประกอบการ
2. ทุนประกัน ( ราคาซื้อ ) หรือ พื้นที่อาคาร ( กี่ ตร.ม.)
3. ลักษณะอาคาร ( คอนกรีตล้วน / ครึ่งปูนครึ่งไม้ / ไม้ล้วน )
4. ทรัพย์สินภายใน ( เฟอร์นิเจอร์ + เครื่องจักร + สต็อกสินค้า )
5. มีกรมธรรม์เดิมหรือไม่ ( สามารถนามาใช้อ้างอิงได้ )
กรณีเช็คเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
1. อายุ + อาชีพ
2. ตำแหน่งหน้าที่
3. ทุนประกัน
กรณีเช็คเบี้ยประกันการเดินทาง ( TA )
1. สถานที่ปลายทาง 2. ยานพาหนะ
3. ระยะเวลาเดินทาง 4. อายุ
5. ทุนประกันภัย
6. ประวัติการขอเอาประกันภัย
หลังจากเรามีข้อมูลครบแล้ว ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เช็คเบี้ยได้ อาจจะเป็นส่งแฟกซ์ ส่ง e-mail หรือทางโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลของพนักงานทุกคน ทุกสาขาคุณสามารถดูได้จากเว็บไซต์บริษัท ในหัวข้อติดต่อเรา
สิ่งที่ต้องเขียนระบุในเอกสารสำเนาที่ส่งไปให้เช็คเบี้ย นอกจากข้อมูลสินทรัพย์ที่จะเอาประกัน, ความต้องการของลูกค้าแล้ว จะต้องเขียน ชื่อ, เบอร์โทร, รหัสสมาชิกสำหรับการติดต่อกลับด้วย
หลังจากได้เบี้ยประกันมาแล้ว ท่านจะได้รับเบี้ย ทุนประกัน และเลขคิว ให้จำไว้ดีๆ โดยเฉพาะเลขคิว เพราะมันคือบันทึกการเช็คเบี้ยของคุณ ถ้าจะเลขคิวไม่ได้ก็แจ้งงานไม่ได้ ต้องเช็คเบี้ยใหม่ และอย่าลืม! จำชื่อพนักงานเช็คเบี้ยของศรีกรุงฯ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์ต่อและสาขาด้วย หลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการเสนอราคาให้ลูกค้า
ถ้าเบี้ยสูงๆ คุณสามารถให้พนักงานทำใบเสนอแบบสวยๆ ได้ (แต่ต้องรอนานนิดหนึ่งเพราะทุกคนก็ต้องการได้ของดี) หรือคุณสามารถทำเอง โดยใช้แบบตัวอย่างใบเสนอราคา
เสนอเบี้ยลูกค้าแล้ว ลูกค้าไม่ืซื้อเพราะที่อื่นให้ราคาที่ถูกกว่า ปัญหานี้ส่วนมากจะเจอกรณีประกันภัยชั้น 1 ก่อนอื่นต้องมาดูรายละเอียดก่อนว่า ข้อมูลของเราตรงกับคู่แข่งไหม เช่น ถ้าลูกค้าระบุผู้ขับขี่ หรือซื้อค่าเสียหายส่วนแรกเบี้ยจะถูกลง ซึ่งบางทีลูกค้าไม่รู้ แต่คู่แข่งของเราใส่ไว้ในใบเสนอราคา เราต้องชี้แจงกับลูกค้าได้ หรือถ้าลูกค้ามีประวัติดี ก็จะได้ส่วนลดปีนี้ ถ้าเราไม่รู้ แต่คู่แข่งรู้ เบี้ยประกันของเราก็จะสู้เค้าไม่ได้ ดังนั้น ถ้ารู้ข้อมูลเหมือนๆ กัน โอกาสที่เบี้ยจะเท่ากันและปิดการขายได้มีสูง
แต่ถ้าข้อมูลตรงกันทุกอย่าง แต่เบี้ยของเรายังสู้คู่แข่งไม่ได้ อาจจะเป็นว่ารถยนต์รุ่นคันดังกล่าวไม่ใช่รถกลุ่มเป้าหมายของโบรคเกอร์ของเรา หรือเราเจอคู่แข่งที่มีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่งของเรา (เจอตอ)
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทวิริยะประกันภัย สมาชิกอยู่ 2 ที่ คือโบรคเกอร์ ก. และศรีกรุงโบรคเกอร์ ในปีที่แล้วโบรคเกอร์ ก. ส่งเบี้ยเท่ากับศรีกรุงโบรคเกอร์ คือ 100 ล้านบาท แต่ลูกค้าของโบรคเกอร์ ก.ขับขี่ปลอดภัย เอารถไปเข้าเคลม คิดเป็นวงเงินค่าซ่อม 90 ล้านบาท ในขณะที่ลูกค้าของศรีกรุงโบรคเกอร์ ขับรถไม่ดี เคลมไป 99 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าแม้ทั้ง 2 โบรคเกอร์มียอดขายเท่ากัน แต่วิิริยะประกันภัย มีกำไรจากโบรคเกอร์ ก. เยอะกว่าศรีกรุง ดังนั้น ในปีต่อๆ ไปวิริยะประกันภัยจะให้ผลประโยชน์ เพิ่ม แถมลดเบี้ยให้กับโบรคเกอร์ ก. ในขณะที่ศรีกรุงโบรเกอร์อาจจะได้เบี้ยเท่าเดิม หรือได้เบี้ยสูงขึ้น ก็อาจจะเป็นไปได้
นี่คือตัวอย่าง แต่จะเจอเคสแบบนี้น้อยมาก เพราะว่าศรีกรุงโบรคเกอร์ ปี 2556 มียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาท และปี 2557 ตั้งเป้าไว้ 1,500 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นโบรคเกอร์ ที่มึศักยภาพเหนือคู่แข่ง แต่เหนือฟ้า ยังมีจักลวาล ถ้าเจอตอ ก็ต้องปล่อยงาน แล้วหาเคสใหม่ ที่ง่ายกว่า
ดังนั้น สมาชิกทุกท่าน ก็สามารถมีส่วนร่วมทำให้เบี้ยของเราถูกกว่าท้องตลาด และได้ผลประโยชน์สูงขึ้นได้ ด้วยการเลือกลูกค้าที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่โกหก
2. การชำระเงินและแจ้งงาน
บริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จากัด ต้องโอนเงินก่อนแจ้งงานทุกรณี ถ้าลูกค้าตัดสินใจทำคุณก็เก็บเงินลูกค้า หรือให้ลูกค้าชำระเข้าบริษัทประกัน หรือโบรคเกอร์ก็ได้ ถ้าชำระเงินที่คุณ คุณสามารถหักผลประโยชน์ทันที นำส่งเฉพาะราคาทุน แ่ต่ถ้าลูกค้าชำระเงินเข้าบริษัทประักัน หรือโบรคเกอร์ คุณจะได้รับผลประโยชน์ โอนคืนธนาคารกสิกรไทย ตามที่เคยแจ้งไว้ตอนสมัคร (ถ้าใครไม่ส่ง ก็ไม่ได้รับจนกว่าจะส่งครบ)
จะได้รับผลประโยชน์ ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้ส่งกรมธรรม์ให้ลูกค้าแล้ว เพราะถ้ายังไม่ส่งลูกค้าอาจจะยกเลิก หรือบริษัทอาจจะไม่รับประกัน เนื่องจากหลายสาเหตุ ก็เป็นได้
การคำนวณเบี้ยนำส่ง
วิธีคิดเบี้ยนาส่ง หาส่วนผลประโยชน์ที่เราได้
เบี้ยรวมภาษี x 93.09% = เบี้ยสุทธิ
เบี้ยสุทธิ x คอมมิชชั่น = ส่วนลด
เบี้ยรวม - ส่วนลด = เบี้ยนำส่ง
ตัวอย่าง ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ บริษัท เจ้าพระยา 3 + (ระดับ 6 ได้คอม 19 %)
เบี้ยรวมภาษี 5,800 บาท เจ้าพระยา 3+ รถเก๋ง เอาเบี้ยรวมภาษี 5,800.00 x 93.09 % จะได้เบี้ยสุทธิ 5,399.22 บาท เอา 5,399.22 x 19% จะได้ผลประโยชน์ 1,025.85 บาท เอาเบี้ยรวมภาษี 5,800.00 ลบส่วนลด 1,025.85 จะเป็นยอดที่จะต้องนำส่งบริษัท รวม 4,774.15 บาท
การผ่อนชำระเป็นงวดๆ โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
บริษัทให้ลูกค้าผ่อนได้ แต่สมาชิกจะโดนหักผลประโยชน์ เดือนละ 1% ถ้าผ่อน 6 งวด ก็โดนหัก 6% และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเคสละ 100 บาท สำหรับค่าส่งเอกสารเรียกเก็บเงินรายเดือน โดยงวดแรกจะต้องจ่าย 35% บวก 100 บาท งวดต่อๆ ไปหารในจำนวนเท่ากัน โดยลูกค้าจะต้องกรอกเอกสารใบคำขอสินเชื่อ และเซ็นต์ยินยอมให้ยกเลิกกรมธรรม์ กรณีผิดนัดชำระ ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่เมนูดาวน์โหลดเอกสาร หรือที่เว็บบริษัท
ถ้าลูกค้าจ่ายเบี้ยช้ากว่า 3 วัน ลูกค้าจะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท ถ้าลูกค้าไม่ยอมชำระเบี้ยประกันเกินกว่า 15 วัน บริษัทจะทำการยกเลิกกรมธรรม์นั้น โดยสมาชิกมีสิทธิที่จะชำระเบี้ยแทนลูกค้า ถ้าคิดว่ายกเลิกแล้วมีกำไร
กรณีตัดบัตรเครดิต
บริษัทประกันจะมี mail order หรือแบบฟอร์มการตัดบัตรเครดิตเกือบทุกบริษัท เราสามารถให้ลูกค้ากรอกข้อมูลรถยนต์และบัตรเครดิตได้ โดยส่วนมากแล้วจะไม่โดนค่าชาร์ท แต่ถ้าชื่อผู้เอาประกันภัย และเจ้าของบัตรไม่ตรงกัน จะต้องโดนชาร์ท 3% หรือถ้าบางบริษัทไม่มีแบบฟอร์มตัดบัตร จะต้องใช้ของบริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์ แทน ซึ่งสมาชิกจะต้องโดนชาร์ท 3% ดาวน์โหลดเอกสารตัดบัตรเครดิต หรือ mail order ได้ที่เว็บบริษัท หัวข้อชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
3. การจัดส่งกรมธรรม์
ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดบริษัทจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน สามารถระบุได้ว่าจะส่งให้สมาชิกหรือส่งให้ลูกค้า ถ้าส่งครั้งที่ 1 แล้วเอกสารตีกลับ หรือว่าไม่มีคนรับ อาจจะด้วยเราให้ที่อยู่ผิด หรือลูกค้าไม่อยู่บ้าน ถ้าจะให้ส่งครั้งที่ 2 สมาชิกจะต้องเสียค่าจัดส่ง 50 บาท/ครั้ง
4. การสลักหลังกรรมธรรม์
ถ้ากรมธรรม์ผิด และเป็นความผิดของลูกค้าหรือสมาชิก ต้องแทนจะต้องเสียค่าสลักหลัก 50 บาท/ครั้ง
5. เอกสารต่างๆ ที่ทีมงานเตรียมไว้ให้ สำหรับเริ่มธุรกิจ