ประกันภัยรถยนต์
“รถยนต์เป็นพาหนะที่อำนวยความสะดวกและให้ประโยชน์แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของมนุษย์ ได้เช่นกัน” มนุษย์จึงได้พยายามที่จะหาทางป้องกันอุบัติเหตุ หรือพยายามที่จะลดอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ลงทุกวิถีทาง แต่การที่จะป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุเลยนั้น ย่อมเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำได้ ดังนั้นวิธีการที่จะลดความเสียหายหรือบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการเสี่ยงภัยของรถยนต์ที่ดีที่สุด คือ การประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เอาประกันภัยรวมถึงต่อสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ ประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(Compulsory Motor Insurance)
2.การประกันภัยภาคสมัครใจ(Voluntary Motor Insurance)
ประเภท 1 :ให้ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัยอันเกิดจากการชน การลักทรัพย์อุปกรณ์การสูญหายทั้งคัน และไฟไหม้ทั้งสาเหตุโดยตรงและโดยอ้อม
ประเภท 2 :ให้ความคุ้มครองความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งคุ้มครองความสูญหาย และไฟไหม้ต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัย
ประเภท 3 :ให้ความคุ้มครองเฉพาะความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ประเภท 3 พิเศษ :ให้ความคุ้มครองเฉพาะความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัยอันเกิดจากการชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ประเภท 5 (2+) :ให้ความคุ้มครองเฉพาะความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งคุ้มครองความสูญหาย ไฟไหม้ และความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัย อันเกิดจากการชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
. ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง
. . รถยนต์ที่รับทำประกันภัย
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย. 1)ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวอักษรสีดำ
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2)ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวอักษรสีฟ้า
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. 3)ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวอักษรสีเขียว
ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลห้ามนำไปใช้รับจ้างหรือให้เช่า
รถยนต์ที่ไม่รับทำประกันภัย
. . ลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย
. แนวทางการขาย
*กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
. |
||